วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประเภทของเพลงไทย


เพลงไทยสมัยต่างๆ


ประเภทของเพลงไทย


เพลงไทย หมายถึง เพลงที่ประพันธ์ ตามหลักของดนตรีไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชนชาติไทยซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาโดยมากเลียนสำเนียงภาษาอื่น มักจะมีชื่อเรียกนำหน้าเพลงตามสำเนียงภาษา เช่น เพลงลาวดวงเดือน เขมรไทรโยค มอญท่าอิฐ แขกสาหร่าย พม่าเห่ จีนขิมเล็ก ฯลฯ

เพลงไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือเพลงบรรเลง และเพลงขับร้อง

เพลงบรรเลง


หมายถึง เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงล้วน ๆ ดังนี้

1. เพลงโหมโรง

เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงก่อนการแสดงโขน-ละคร และพิธีกรรม ต่าง ๆ โดยมีความเชื่อว่า

  • ใช้ประกาศ หรือประโคมให้รู้ว่ากำลังจะเริ่มแสดง หรือ เริ่มพิธี
  • เพื่ออัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาประชุมพร้อมกันในบริเวณงาน

เพลงโหมโรงจะใช้เพลงสาธุการบรรเลงนำทุกครั้ง มี 3 ประเภท คือ

  1. โหมโรงพิธีกรรม บรรเลงก่อนพิธีกรรมต่าง ๆ มี 3 ชุด คือ
    - เพลงโหมโรงเย็น
    - เพลงโหมโรงเช้า
    - เพลงโหมโรงเทศน์
  2. เพลงโหมโรงการแสดง บรรเลงก่อนการแสดงต่าง ๆ
  3. เพลงโหมโรงเสภา บรรเลงก่อนการขับเสภา


2. เพลงหน้าพาทย์

ใช้บรรเลงประกอบอิริยบท อารมณ์ และการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร หรืออัญเชิญฤาษีเทวดาและครูอาจารย์ให้มาร่วมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่างๆ มี 2 ชนิด

2.1 เพลงหน้าพาทย์ธรรมดา ประกอบอริยบทตัวละครธรรมดา เช่น ร้องให้ ใช้ เพลงโอด , ต่อสู้ ใช้เพลงเชิด
2.2 เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ประกอบอิริยบทของเทพต่างๆ ได้แก่ พระอินทร์ พระพรหม เทวดา เช่น การเดินทางไปมา ใช้เพลงกลม


3. เพลงเรื่อง

คือเพลงชุดที่นำเอาเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมกันบรรเลงติดต่อกันเป็นชุด ดังนี้

  • เพลงเรื่องประเภทเพลงช้า เช่นเรื่องเต่ากินผักบุ้ง เรื่องจีนแส
  • เพลงเรื่องประเภทเพลงเร็ว เช่น เรื่องแขกมัดตีนหมู เรื่องแขกบรเทศ
  • เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เช่น เรื่องมุล่ง เรื่องช้างประสานงา
  • เพลงเรื่องประเภทเพลงสองไม้ เช่น เรื่องสีนวล เรื่องทยอย
  • เพลงเรื่องประเภทเพลงที่เกี่ยวกับพิธีกรรม เช่น เรื่องทำขวัญ


4. เพลงหางเครื่อง

เป็นเพลงบรรเลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงเถา เป็นบทเพลงสั้นๆ ในอัตราจังหวะชั้นเดียว เพื่อให้สนุกสนาน ครึกครื้น


5. เพลงออกภาษา

เป็นเพลงที่นำเพลงสำเนียงภาษาต่าง ๆมารวมเป็นชุดเดียวกัน การบรรเลงจะต้องออก 4 ภาษาก่อนคือ จีน เขมร ตะลุง พม่า


6. เพลงเดี่ยว

เป็นเพลงพิเศษ ใช้สำหรับ บรรเลงเดี่ยว อวดฝีมือนักดนตรี


เพลงขับร้อง


หมายถึงเพลงที่นิยมนำมาร้องประกอบดนตรีตามแบบของไทย มีดังนี้

1. เพลงเถา เป็นเพลงที่มี อัตราจังหวะ 3ชั้น 2ชั้น และชั้นเดียว ในเพลงเดียวกัน เช่น เพลงแขกบรเทศ เพลงแสนคำนึงหา

2. เพลงตับ เป็นเพลงชุดที่นำเอาเพลงหลายเพลงมาบรรเลงติดต่อกัน มีอยู่ 2 แบบ คือ

ตับเรื่อง ( เอาเนื้อร้องเป็นเกณฑ์ )

ตับเพลง (เอาแบบแผนการบรรเลงเป็นเกณฑ์ )

เพลงเกร็ด เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงและขับร้องทั่วไป เพื่อความสนุกสนาน จะชมความงามของหญิง ชมธรรมชาติ บรรยายความรัก เช่นลาวดวงเดือน

อ้างอิง

เขมรไทรโยค

เขมรไทรโยค

เพลงเขมรไทรโยค เป็นเพลงไทยเดิม พระนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสน้ำตกไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2431
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์โดยได้เค้ามาจากเพลง "เขมรกล่อมลูก" ซึ่งเป็นเพลง 2 ชั้น ดัดแปลงขึ้นใหม่เป็นเพลง 3 ชั้น กับได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องประกอบบรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติ แล้วประทานนามว่า "เขมรไทรโยค" ออกแสดงครั้งแรกในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2431 ต่อมาถูกตัดทอนให้เป็นเพลงชั้นเดียว ใส่เนื้อร้องโดยนางจันทนา พิจิตรคุรุการ และขยายเป็นเพลง 3 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2491 โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) กลายเป็น "เพลงเถา" โดยแต่งขยายเป็นสี่ชั้น และตัดลงเป็นสองชั้นและชั้นเดียวตามลำดับ


บรรยายความตามไท้ เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์ น้องเอย...เจ้าไม่เคยเห็น

ไม้ไร่หลายพันธ์ คละขึ้นปะปน ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโกรกธาร น้ำพุพุ่งซ่าน ไหลมาฉาดฉาน
เห็นตระการ มันไหลจอกโครมจอกโครม มันดังจ้อกจ้อก จ้อกจ้อก โครมโครม

น้ำใสไหลจนดู หมู่มัสยา กี่เหล่าหลายว่ายมา ก็เห็นโฉม น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น

ยินปักษาซ้องเสียง เพียงประโคม เมื่อยามเย็นพยับโพยมร้องเรียกรัง เสียงนกยูงทอง มันร้องโด่งดัง
หูเราฟังมันร้องดังกระโต้งฮง มันดังก้อก ก้อก ก้อกก้อก กระโต้งฮง
อ้างอิง

ประวัติโดเรม่อน

โดเรม่อนนนน

โดราเอมอน หรือ โดเรมอน (Doraemon) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือ โนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วย ของวิเศษ จากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2512 โดย สำนักพิมพ์โชงะกุกัง  โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน  ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น  อีกทั้งยังได้รับเลือกจาก นิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็น 1 ในวีรบุรุษของ ทวีปเอเชีย จาก ประเทศญี่ปุ่น  จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของ ประเทศญี่ปุ่น  นอกจากนี้บริษัท บันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิต หุ่นยนต์ โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My Doraemon" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552 
ใน ประเทศไทย โดราเอมอนฉบับ หนังสือการ์ตูน มีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอนิเมะ ออกอากาศครั้งแรก วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2525 ทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัท โรส วิดีโอ

โครงเรื่อง

เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของ โนบิตะ เด็กชายชั้น ป.5 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน ไม่ชอบอ่านหนังสือและไปโรงเรียนสายบ่อยๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือ โดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์ เด็กที่ดูเป็นอันธพาลแต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะ ผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะ น้องสาวของไจแอนท์ ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มี โดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋า 4 มิติและของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย คุณพ่อและคุณแม่ของโนบิตะ ซึ่งคุณแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าคุณพ่อ
แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะและคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเลหรือยุคไดโนเสาร์)

ประวัติและที่มาของโดราเอมอน

การ์ตูนโดราเอมอน ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เนื่องจาก ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ที่จะมาแทนการ์ตูน เจ้าชายจอมเปิ่น แต่ในความจริงแล้วทั้ง 2 ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับอาจารย์เป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ นักวาดการ์ตูนได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเอง เขามักจะเล่นกับแมวตัวนี้เป็นประจำเมื่อตอนที่เขาคิดอะไรไม่ออก จนเวลาล่วงเลยมาถึง 04.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่เขาจึงจะล้มเลิกไปเสียแล้วแต่เขาเกิดคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีนเพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไปจึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น 
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่องและตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น และเริ่มตีพิมพ์ในนิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็งและนิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-4 (เดือนมกราคม พ.ศ. 2513
การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันใน นิตยสาร 6 ฉบับคือ นิตยสารโยะอิโกะ, นิตยสารโยชิเอ็ง, นิตรยสาร โชงะกุอิชิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1), นิตยสาร โชงะกุนิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 2), นิตยสาร โชงะกุซังเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 3) และนิตยสาร โชงะกุโยเน็นเซ โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน  โดยเขียนให้เหมาะกับผู้อ่านแต่ละระดับอายุ ซึ่งการ์ตูนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับ รางวัลเท็ตซึกะ โอซามุ เป็นการ์ตูนดีเด่น




อ้างอิง

เครื่องบินบนฟ้า....

เครื่องบิน

เครื่องบิน หรือ (อังกฤษ: airplane or aeroplane) คือ พาหนะสำหรับเดินทางที่สามารถบินไปในอากาศได้ (อากาศยาน) โดยเครื่องบินเป็นอากาศยานที่หนักกว่าอากาศ เครื่องบินสามารถบินได้โดยอาศัยแรงยกจากปีกตามหลักการของอากาศพลศาสตร์และถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยแรงผลักจากเครื่องยนต์ไอพ่นหรือใบพัด (อากาศยานที่เบากว่าอากาศถูกเรียกว่า "เรือเหาะ") เครื่องบินมีหลายขนาด, หลายรูปทรง, และปีกหลายแบบ ลักษณะการใช้งานจะเป็นการใช้เพื่อการพักผ่อน, การขนส่งสินค้าและการโดยสาร, ใช้ในการเกษตร, การทหาร, และการวิจัย. เครื่องบินมีทั้งแบบที่ใช้เครื่องยนต์ และไม่ใช้เครื่องยนต์ เครื่องบินแบบที่ไม่ใช้เครื่องยนต์จะมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เครื่องร่อน
เครื่องบินที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่เป็นอากาศยานปีกคงที่ (อังกฤษ: fixed-wing aircraft) ขับโดยนักบินที่อยู่ในเครื่อง บางชนิดถูกออกแบบให้ทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือการควบคุมระยะไกลโดยไม่ต้องมีนักบินภายในเครื่อง. ส่วนอากาศยานปีกหมุน/เฮลิคอปเตอร์ หรือที่บางแห่งเรียกว่า เครื่องบินปีกหมุน เป็นอากาศยานอีกชนิดหนึ่งที่มีจำนวนรอง 




อ้างอิง